หลักสูตรถอดรหัสการตลาดงานศิลปหัตถกรรมแบบญี่ปุ่น (Handicraft Marketing : The Key to Japan’s Success)
กันตธร วรรณวสุ, Ms. Mari Shogase
หลักสูตรสำหรับเรียนรู้การทำการตลาดงานศิลปหัตถกรรมแบบญี่ปุ่น การนำต้นทุนทางวัฒนธรรมของงานหัตถกรรมแบบดั้งเดิมมาต่อยอดการตลาดด้วยการถ่ายทอดคุณค่าจากผู้สร้างสรรค์ถึงผู้บริโภค นำไปสู่การสร้างมูลค่าในตลาดงานศิลปหัตถกรรมอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ของการนำเสนอหลักสูตร:
1. สร้างความเข้าใจด้านต้นทุนทางวัฒนธรรมผ่านภูมิปัญญาเชิงช่างของญี่ปุ่นและไทย
2. แสดงความพิเศษของหัตถกรรมญี่ปุ่นที่สร้างมูลค่าด้วยคุณภาพ และการสื่อสารเรื่องราว
3. นำเสนอกลยุทธ์การตลาดแบบญี่ปุ่นสู่แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์-บริการที่สร้างความประทับใจแบบยั่งยืน
โดยแบ่งการนำเสนอเป็น 3 บทเรียน ดังนี้
บทเรียนที่ 1: “ต้นทุนทางวัฒนธรรม” กับการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย-ญี่ปุ่น
1.1 ความสัมพันธ์ของคนกับงานหัตถกรรม
1.2 แนวคิด-หลักการการทำงานแบบคนญี่ปุ่น
บทเรียนที่ 2: เคล็ดลับสร้าง “มูลค่า” หัตถกรรมด้วย “การตลาด”แบบญี่ปุ่น
2.1 DNA การตลาดแบบญี่ปุ่น
2.2 การสร้างคุณค่าและมูลค่าให้งานหัตถกรรมแบบญี่ปุ่น
2.3 บทบาทการส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมของญี่ปุ่น
บทเรียนที่ 3: ผสานหลักคิดข้ามวัฒนธรรม หัวใจสู่ความสำเร็จของหัตถกรรมไทย
3.1 จาก “การตลาดแบบญี่ปุ่น” สู่ “การทำการตลาดกับญี่ปุ่น”
3.2 DNA การตลาดแบบญี่ปุ่น + DNA งานศิลปหัตถกรรมไทยกลไกสร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืน
กันตธร วรรณวสุ
CEO mediator co., ltd.
Ms. Mari Shogase
Director of Arts and Culture Department of the Japan Foundation, Bangkok (คุณมาริ โชกะเซะ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ)
ประกอบด้วย
ประกอบด้วย